ประวัติโรงเรียน

1. ข้อมูลทั่วไป

1.1 ที่ตั้ง

เลขที่ 299 หมู่ที่ 12  ถนนทยาปัสสา   ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ( สพม.ศกยส.)  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีเนื้อที่ 36 ไร่  1 งาน  60 ตารางวา 

1.2 ข้อมูลการติดต่อ

สำนักงานกลุ่มอำนวยการ(ธุรการ)

หมายเลขโทรศัพท์ + FAX  0-4578-1116

------------------------------------------------

สำนักงานกลุ่มบริหารวิชาการ

หมายเลขโทรศัพท์ + FAX  0-4578-1986

------------------------------------------------

สำนักงานกลุ่มบริหารงบประมาณ 

กลุ่มงานพัสดุ  หมายเลขโทรศัพท์ + FAX   0-4578-1512

กลุ่มงานการเงิน  หมายเลขโทรศัพท์ + FAX  0-4578-1511

------------------------------------------------
E-mail: lnschool@ln.ac.th  
website: https://www.ln.ac.th

พิกัดแผนที่  16.2007667,104.5378731

1.3 การจัดการศึกษา

เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  

 เขตพื้นที่บริการ ระดับประถมศึกษา 7 โรงเรียน ได้แก่ 

1. โรงเรียนบ้านคึมชาดตาดบกศรีสมพร
2. โรงเรียนอนุบาลเลิงนกทา
3. โรงเรียนเทศบาลเลิงนกทา
4. โรงเรียนบ้านแยประชาสรรค์
5. โรงเรียนบ้านโป่งหนองสิม
6. โรงเรียนบ้านนาจาน
7. โรงเรียนบ้านกุดโจด


รหัสโรงเรียน 10 หลัก :  1035430416

รหัส Smis 8 หลัก :  35022001

รหัส Obec 6 หลัก :  430416

ชื่อสถานศึกษา(ไทย) :  เลิงนกทา

ชื่อสถานศึกษา(อังกฤษ) :  LOENGNOKTHASCHOOL

1.4 หลักสูตรที่เปิดสอน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 6 แผนการเรียน

1.ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม : Gifted Program

2.ห้องเรียนพิเศษคณิตศาสตร์ : Advanced Program:AP

3.ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ : Special English Program:SEP

4.ห้องเรียนพิเศษภาษาจีน : Intensive Chinese Program: ICP

5.วิทยาศาสตร์พลังสิบ

6.วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ


ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 9 แผนการเรียน

1.ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม : Science Mathemetics Technology and Environment Program : SMTE

2.ห้องเรียนพิเศษคณิตศาสตร์ : Advanced Program:AP

3.ห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ : Special English Program:SEP

4.ห้องเรียนพิเศษภาษาจีน : Intensive Chinese Program: ICP

5.วิทยาศาสตร์พลังสิบ

6.วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์

7.นิติศาสตร์-รัฐศาสตร์

8.สังคม-ภาษาอังกฤษ

9.ศิลปะ-ดนตรี


1.5 จำนวนนักเรียน    .........  คน   < กดที่นี่



2. ข้อมูลด้านการบริหาร

2.1 ผู้อำนวยการสถานศึกษา  
นายบุญมี  พุ่มจันทร์  วุฒิการศึกษา ศษ.ม. ( การบริหารการศึกษา ) วิชาเอก การบริหารการศึกษา  

2.2 รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 4 คน ดังนี้

2.2.1) นายกิตติศักดิ์  อินไช  วุฒิการศึกษา ศษ.ม. ( การบริหารการศึกษา) ปฏิบัติหน้าที่ บริหารกลุ่มบริหารทั่วไป

2.2.2) นางสาวลำไพร  เมืองคง  วุฒิการศึกษา ค.ม.(การบริหารการศึกษา) ปฏิบัติหน้าที่ บริหารกลุ่มบริหารงานบุคคล

2.2.3) นางกุสุมาลย์  สมประสงค์  วุฒิการศึกษา ศษ.ม. การบริหารการศึกษา/     ค.ม.  วิจัยและประเมินผลการศึกษา   ปฏิบัติหน้าที่ บริหารกลุ่ม บริหารงบประมาณ

2.2.4) นางปรียาวดี  วิเวก  วุฒิการศึกษา ศษ.ม.(การบริหารการศึกษา) ปฏิบัติหน้าที่ บริหารกลุ่มบริหารวิชาการ

2.3 ผู้ช่วยผู้อำนวยการ จำนวน 1 คน ดังนี้

2.3.1 นายรุจน์  กลางคาร   วุฒิการศึกษา ..(นิติศาสตร์) ปฏิบัติหน้าที่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ กลุ่มกิจการนักเรียน

2.4 หัวหน้ากลุ่มงาน  จำนวน  4  คน ดังนี้

2.4.1) นายธันธกรณ์  ศิวะประสิทธิ์กุล  วุฒิการศึกษา ศษ.ม.(การบริหารการศึกษา)ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณ

2.4.2) นายศุภชัย  ทองเข็ม   วุฒิการศึกษา วท.ม.(การสอนวิทยาศาสตร์) ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มบริหารทั่วไป
2.4.3) นางสุภัทรา  บุญยิ่ง  วุฒิการศึกษา ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์) ปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ  

 2.4.4) นางธนัญญาภัค  อินไช  วุฒิการศึกษา ค.บ. (เคมี) ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล  


3. ประวัติของโรงเรียน

โรงเรียนเลิงนกทา ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 โดยใช้ศาลาวัดเขมไชยาราม(วัดใต้) และต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2514 ได้ย้ายมาอยู่ทางทิศใต้ของถนนทยาปัสสา หมู่บ้านภูดิน เลขที่ 299 หมู่ 12 ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร สถานที่ตั้งโรงเรียนเลิงนกทา เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “โนนภูดิน” มีเนื้อที่ทั้งหมด 36 ไร่ 1 งาน 60 ตารางวา อาคารเรียนหลังแรกเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ซึ่งบรรดาพ่อค้า ประชาชนตลาดบ้านสามแยก และบ้านเลิงเก่า ได้ร่วมกันบริจาค สำหรับที่ดินบริเวณนี้ ได้รับบริจาค จาก นายสมสกุล ขุมทอง จำนวน 29 ไร่ นายเวียงชัย นาคสุด และนายสุด วงศ์สุข จำนวน 7 ไร่ 1 งาน 60 ตารางวา มีนายสวาท ไชยสัจ รักษาการครูใหญ่โรงเรียนคนแรก ต่อมาวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 กรมสามัญศึกษา ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง นายบุญช่วย ธานี ดำรงตำแหน่งครูใหญ่คนแรก และในปีนั้นทางโรงเรียนได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคาร แบบ 2163 บ้านพักครู บ้านพักนักการภารโรง อาคารประกอบเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนได้เลื่อนจาก ครูใหญ่ เป็นอาจารย์ใหญ่ และผู้อำนวยการ ปัจจุบันมี  นายบุญมี  พุ่มจันทร์ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ


4. สัญลักษณ์โรงเรียน

5.  อักษรย่อของโรงเรียน 

ล.น.  (ลอ จุด  นอ   จุด)


6. สีประจำโรงเรียน

 ฟ้า  หมายถึง     ความใฝ่ฝันอันสูงสุด

ขาว  หมายถึง    ความสะอาดบริสุทธิ์

ความหมาย

          “ลูกศิษย์ของโรงเรียนเลิงนกทา  เป็นผู้มีความใฝ่ฝันอันสูงสุดจะประกอบสัมมาอาชีพ ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม”

 

7. คำขวัญ

                   รับผิดชอบ  รอบรู้  สู้งานดี  มีคุณธรรม

ความหมาย

                   รับผิดชอบ  หมายถึง โรงเรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการรู้จักบทบาทหน้าที่ที่มีต่อตนเอง และต่อส่วนรวม มีระเบียบวินัย มีความเสียสละ ทั้งด้านการศึกษาหาความรู้ การดำเนินชีวิต ตลอดจนสามารถปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่นในสังคมได้

                   รอบรู้    หมายถึง  โรงเรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ที่หลากหลายตั้งใจแสวงหาความรู้มาพัฒนาตนเอง เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีตามเกณฑ์มาตรฐานที่สถานศึกษากำหนด

                   สู้งานดี  หมายถึง โรงเรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของความขยัน  ความ อดทน มุมานะ ตั้งใจเรียน และพร้อมที่จะร่วมทำงานกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

                   มีคุณธรรม  หมายถึง  โรงเรียนปลูกฝังให้ผู้เรียน ฝึกฝน ปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ส่งเสริมให้ผู้เรียน เห็นคุณค่าในความเป็นไทย

         

8. ปรัชญาของโรงเรียน                      

ธรรมะ  ปัญญา  สภาวะ

9. พระพุทธรูปประจำโรงเรียน              

             พระพุทธศิริ


 10. เอกลักษณ์ของโรงเรียนเลิงนกทา       

นักเรียนเก่ง  ครูเยี่ยม  เปี่ยมผลงาน

11. อัตลักษณ์ของโรงเรียนเลิงนกทา                  

“มีภาวะผู้นำ    รักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น”

 

ภาวะผู้นำ

นักเรียนมีความรู้ความสามารถ มีทักษะและพัฒนาตนเอง ด้านคุณธรรม จริยธรรม

การส่งเสริมประชาธิปไตย ทั้งในสถานศึกษา เป็นที่ยอมรับของชุมชนและสังคม


เป็นผู้นำด้านกีฬา

นักเรียน มีความรู้ความสามารถ และทักษะด้านกีฬาสามารถพัฒนาตนเอง

สู่การแข่งขัน ในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ


เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

นักเรียนได้รับการพัฒนาและตระหนักในการอนุรักษ์ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

สามารถพัฒนาตนเอง สู่การแข่งขัน ในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

12. อาคารสถานที่


 

              ปัจจุบันโรงเรียนเลิงนกทามีพื้นที่  36  ไร่  1  งาน  60  ตารางวา  เป็นที่ดินราชพัสดุ กรรมสิทธิ์ของโรงเรียน  โดยมีอาคารเรียน  อาคารประกอบ  บ้านพักครู  บ้านพักนักการภารโรง  ห้องน้ำชายหญิงและบ่อบาดาล  ดังนี้

12.1 อาคารเรียน มี  6 หลัง  ดังนี้

                12.1.1) อาคาร 216 ค จำนวน  1 หลัง 

                อาคาร 1 ประกอบด้วย

1) ห้องสำนักงานแนะแนว                               จำนวน   1 ห้อง (ต่อเติมชั้นล่าง)

2) ห้องสภานักเรียน                                         จำนวน  1  ห้อง (ต่อเติมชั้นล่าง)

3) ห้องเสริมสวย                                          จำนวน  1  ห้อง (ต่อเติมชั้นล่าง)

4) ห้องประกันคุณภาพ                                   จำนวน  1  ห้อง (ต่อเติมชั้นล่าง)

5) ห้องครูเวร                                        จำนวน  1  ห้อง (ต่อเติมชั้นล่าง)

6) ห้องธนาคารโรงเรียน                                 จำนวน  1  ห้อง (ต่อเติมชั้นล่าง)

7) ห้องสำนักงาน SMTE                                    จำนวน  1  ห้อง (ต่อเติมชั้นล่าง)

8) ห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน                                จำนวน  1  ห้อง (ต่อเติมชั้นล่าง)

9) ห้องเรียน Gifted                                     จำนวน  1  ห้อง (ต่อเติมชั้นล่าง)

10) ห้องบริการโรเนียวเอกสาร                          จำนวน  1  ห้อง (ต่อเติมชั้นล่าง)

11) ห้องปฏิบัติการ SMTE                                  จำนวน  1  ห้อง (ต่อเติมชั้นล่าง)

                  12) ห้องสำนักงานกลุ่มบริหารทั่วไป                    จำนวน  1  ห้อง

13) ห้องสำนักงานฝ่ายกิจการนักเรียนและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน  1  ห้อง         

14) ห้องสำนักงานกลุ่มบริหารวิชาการ                      จำนวน  2  ห้อง

15) ห้องเรียนคอมพิวเตอร์                             จำนวน  5  ห้องเรียน

16) ศูนย์ข้อมูล (ศูนย์วิทยบริการ)                           จำนวน  1  ห้อง

17) ห้องเรียนพิเศษ Gifted (ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น)      จำนวน 2 ห้องเรียน

18) ห้องเรียนพิเศษ SMTE  (ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย)   จำนวน 3 ห้องเรียน

19) ห้องเรียนอัจฉริยะ                                  จำนวน  1  ห้องเรียน

        

12.1.2) อาคาร 324 ล/27    จำนวน  1 หลัง

       อาคาร 2  ประกอบด้วย

1) ห้องสำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์     จำนวน  2 ห้อง

                2) ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์กายภาพ                  จำนวน  1  ห้อง

3) ห้องปฏิบัติการชีววิทยา                            จำนวน  1  ห้อง

                4) ห้องปฏิบัติการเคมี                                   จำนวน  1  ห้อง

                5) ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์                                    จำนวน  1  ห้อง

       6) ห้องเรียนปกติ                             จำนวน  17 ห้องเรียน

       7) ห้องเรียนสีเขียว                                       จำนวน  1 ห้องเรียน

 

 

 

   12.1.3) อาคาร 324 ล/41 (หลังคาทรงไทย)  จำนวน  1 หลัง

              อาคาร 3  ประกอบด้วย

   1) ห้องสำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ    จำนวน  1  ห้อง

   2) ห้องเรียนภาษาจีน                                          จำนวน  1  ห้องเรียน

   3) ห้องเรียนพิเศษ SEP                          จำนวน  4  ห้องเรียน

   4) ห้องเรียนปกติ                                จำนวน  16 ห้องเรียน

   5) ห้องสำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ    จำนวน   3  ห้อง
              (ต่อเติมระเบียง ทั้ง 3 ชั้น ของอาคาร)

   6) ห้องเรียนปกติกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ    จำนวน  2 ห้อง
              (ต่อเติมชั้นล่าง จำนวน  2  ห้องเรียน) 

   7) ห้องเรียนภาษาจีน  จำนวน  2  ห้องเรียน (ต่อเติมชั้นล่างของอาคาร)

   8) ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก              จำนวน  1  ห้อง

 

           12.1.4) อาคาร 216ล/57ก     จำนวน  1 หลัง

            อาคาร 4  ประกอบด้วย

1) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม   จำนวน  2  ห้อง

2) ห้องพระพุทธศาสนา                                    จำนวน  1 ห้อง

3) ห้องศูนย์การเรียนรู้อาเซียน                      จำนวน  1  ห้อง

4) ห้องเรียนปกติ                                        จำนวน  12  ห้องเรียน

 

           12.1.5) อาคาร 216 ล ปรับปรุง 46      จำนวน  1 หลัง

       อาคาร 5  ประกอบด้วย

1) ห้องสำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์     จำนวน  1  ห้อง

2) ห้องเรียนพิเศษ (AP)                                  จำนวน  6  ห้องเรียน

3) ห้องเรียนปกติ                                         จำนวน  9  ห้องเรียน

4) ห้องพยาบาล(ต่อเติมชั้นล่าง)                      จำนวน  1  ห้อง

            5) ห้องผู้อำนวยการโรงเรียน(ต่อเติมชั้นล่าง)            จำนวน  1  ห้อง

6) ห้องสำนักงานกลุ่มบริหารบุคคล  (ต่อเติมชั้นล่าง)   จำนวน  1  ห้อง

7) ห้องสำนักงานกลุ่มบริหารงบประมาณ(ต่อเติมชั้นล่าง)  จำนวน  1  ห้อง

8) ห้องน้ำชั้นล่างในตัวอาคาร                        จำนวน   5  ห้อง

 

         12.1.6 อาคาร 216 ล ปรับปรุง

          อาคาร 6 (ช่อกันเกรา) ประกอบด้วย 

   1) ห้องสำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย     จำนวน  1  ห้อง

   2) ห้องสำนักงานกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา พลศึกษา   จำนวน  1  ห้อง

   3) ห้องศูนย์ปฏิบัติการภาษาอังกฤษ (HCEC)            จำนวน  2  ห้อง

   4) ห้องเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและพลศึกษา  จำนวน  12 ห้อง

       5) ห้องฟิตเนส (ต่อเติมชั้นล่าง)                      จำนวน  1  ห้อง

 

      12.2 อาคารประกอบ 

              1) อาคารโรงฝึกงานวิชาอุตสาหกรรม                    จำนวน  2  ห้อง

                    - ปรับเป็น ศูนย์ภูมิปัญญาท้องถิ่น              จำนวน  1 ห้อง

- ปรับเป็น ห้องนาฎศิลป์                                จำนวน  1 ห้อง

              2) อาคารโรงฝึกงานวิชาคหกรรม                 จำนวน  1  ห้อง

                    - ปรับเป็น ห้องเรียนทั่วไป                      จำนวน  1 ห้อง

              3) อาคารโรงฝึกงานวิชาเกษตรกรรม               จำนวน  2  ห้อง

                    - ปรับเป็นห้อง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ จำนวน 1 ห้อง

- ปรับเป็นสหกรณ์ร้านค้าโรงเรียน และห้องเรียนวิชาการงาน  จำนวน 1 ห้อง


          4) หอประชุมเอนกประสงค์ จำนวน  1  หลัง (ปรับเป็น ห้อง ทูบีนัมเบอร์วัน)
ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และห้องวงดนตรี (วงโยธวาทิต  วงดนตรีลูกทุ่ง)

          5) หอประชุมเอนกประสงค์  ดัดแปลงเป็นสถานที่สอนกีฬา       จำนวน  1  หลัง

         6) โดม 50 ปี ลน. (โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ)         จำนวน  1  หลัง

          7) หอประชุมช่อพุทธรักษา                                             จำนวน  1  หลัง

              ปรับเป็น ห้องประชุมช่อชงโค (ด้านล่าง)                       จำนวน  1  ห้อง

              ปรับเป็น ห้องมัลติมีเดีย (ด้านล่าง)                             จำนวน  1  ห้อง

12.3 บ้านพักครู  บ้านพักนักการภารโรง

           1) บ้านพักครู                                     จำนวน   16   หลัง

           2) บ้านพักนักการภารโรง                  จำนวน 3   หลัง

           3) ห้องน้ำชายหญิง                           จำนวน 5   หลัง

             4)  บ่อบาดาล                                        จำนวน    4   บ่อ